เมนู

บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้น
ทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสา-
ยะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด ฉะนั้น
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทนี้ว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา ดังนี้
บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ออกจากเรือนแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ.
บทที่เหลืออาจเพื่อรู้ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้กล่าว
ให้พิสดาร.
ปาริจฉัตตกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์
วรรคที่ 3 จบ

วรรคที่ 4


คาถาที่ 31


คาถาว่า รเสสุ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงแวดล้อมด้วยบุตรอำมาตย์
ทั้งหลายในพระราชอุทยาน ทรงเล่นกีฬา ในสระโบกขรณีที่มีแผ่นศิลา วิเสท
ถือเอารสแห่งเนื้อทั้งปวง ปรุงพระกระยาหารในระหว่าง ซึ่งปรุงดีอย่างยิ่ง ดุจ
อมฤตแล้ว น้อมถวายแด่พระองค์ พระราชานั้นทรงถึงความติดในพระกระ-
ยาหารนั้น ไม่ทรงประทานอะไรให้แก่ใครเลย เสวยแต่พระองค์เดียว เมื่อ
ทรงเล่นในน้ำ และเสด็จออกในเวลามืด ก็รีบเสวย ไม่ได้นึกถึงบริชนซึ่ง
พระองค์เคยเสวยด้วยกันมาแต่กาลก่อน.

ต่อมาภายหลัง พระองค์ทรงนึกได้ว่า โอ ! เราทำบาป ที่เราถูก
ความอยากในรสครอบงำ ลืมนึกถึงปวงชน กินแต่ผู้เดียว เอาเถิด เราจะข่ม
ความอยากในรส ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนา
อยู่ ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ ทรงติเตียนการปฏิบัติในครั้ง
ก่อนของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ อันแสดงถึงข้อปฏิบัติอันเป็นปฏิปักษ์
ต่อการปฏิบัติครั้งก่อนนั้นว่า
รเสสุ เคธํ อกรํ อโลโล
อนญฺญโปสี สปทานจารี
กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้ง-
หลาย ไม่โลเล ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปกติเที่ยว
บิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มีจิตไม่ผูกพัน
ในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
ฉะนั้น
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า รเสสุ ความว่า ไม่กระทำความยินดี คือ
ไม่กระทำความติดในรสอันควรลิ้มทั้งหลาย อันต่างโดยรสเปรี้ยว หวาน ขม
เผ็ด เค็ม เฝื่อน และรสฝาดเป็นต้น มีอธิบายว่า ไม่ยังความอยากให้เกิดขึ้น.
บทว่า อโลโล ความว่า ไม่วุ่นวายในรสพิเศษทั้งหลายว่า เราจัก
ลิ้มรสนี้.
บทว่า อนญฺญโปสี ความว่า เว้นจากคนมีสัทธิวิหาริก อันตนจะ
พึงเลี้ยงดูเป็นต้น มีอธิบายว่า ยินดีแล้ว ด้วยเหตุสักว่าการสำรวมทางกาย.
อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงว่า ในกาลก่อนเราเป็นผู้วุ่นวายใน

การกระทำความติดในรสทั้งหลาย ที่อุทยานแล้ว เป็นผู้เลี้ยงคนอื่น ฉันใด
เราไม่เป็นฉันนั้น เป็นผู้วุ่นวายด้วยตัณหาใดแล้ว ทำความยินดีในรสทั้งหลาย
ภิกษุละตัณหานั้น ไม่เลี้ยงคนอื่น เพราะอัตภาพอื่นอันมีตัณหาเป็นมูลไม่เกิด
ต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง กิเลส เรียกว่า อญฺโญ (อื่น) เพราะอรรถว่าหักราน
ประโยชน์. ในข้อนี้มีอธิบายอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อว่า ไม่เลี้ยงคนอื่น เพราะไม่
เลี้ยงกิเลสเหล่านั้น.
บทว่า สปทานจารี ความว่า มีปกติเที่ยวไปด้วยการไม่ข้ามลำดับ
คือ มีปกติเที่ยวไปตามลำดับ ไม่ละลำดับแห่งเรือน เข้าไปสู่ตระกูลของคน
มั่งคั่งและตระกูลของคนยากจน เพื่อบิณฑบาตเนือง ๆ.
บทว่า กุเล กุเล ลปฺปฏิพทฺธจิตฺโต ความว่า ผู้มีจิตไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยอำนาจแห่งกิเลส ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในบรรดาตระกูลทั้งหลายมี
ตระกูลกษัตริย์เป็นต้น เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ดุจพระจันทร์. บทที่เหลือมีนัยที่
กล่าวแล้วนั่นแล.
รสเคธคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 32


คาถาว่า ปหาย ปญฺจาวรณานิ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในพระนครพาราณสี ทรงได้
ปฐมฌาน ท้าวเธอทรงสละราชสมบัติ เพื่อทรงตามรักษาฌาน ทรงผนวชแล้ว
เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เพื่อจะทรงแสดง
สัมปทาแห่งการปฏิบัติของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า